วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ผนังทึบ ช่องเปิด ระเบียง ต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน

ผนังทึบ ช่องเปิด ระเบียง ต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน :

กฎหมายอาคารควรรู้เมื่อจะก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน

เจ้าของบ้านหลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ผนังที่มีประตู-หน้าต่าง หรืออิฐบล็อกแก้ว หรือระเบียงบ้านของเราด้านที่ติดกับแนวเขตที่ดินผู้อื่น จะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินเท่าใด และยิ่งสงสัยมากขึ้น เมื่อเห็นข้างบ้านที่กำลังก่อสร้างผนังมีประตูหน้าต่าง หรือทำเป็นระเบียงอยู่ใกล้เขตที่ดินบ้านเรา บางครั้งก็มีผนังชิดเขตที่ดินของเราเลย แล้วปัจจุบันมีกฎหมายกำหนดให้ขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน จะต้องถอยร่นช่องเปิด (ขอเรียก ประตู หน้าต่าง ช่องแสง ช่องระบายอากาศ รวมๆ ว่า ช่องเปิด) ให้ห่างจากแนวเขตที่ดินที่ขออนุญาตก่อสร้างกี่เมตร หากทำเป็นผนังทึบโดยไม่มีช่องเปิด จะก่อสร้างให้ชิดเขตที่ดินเลยได้หรือไม่ หรือต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินเท่าใด
   กฎหมายควบคุมอาคาร นอกจากกำหนดให้อาคารมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินด้านที่ติดหรือประชิดกับถนนหรือแหล่งน้ำสาธารณะแล้ว ยังได้กำหนดให้ผนังอาคาร ช่องเปิดหรือระเบียง ต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินด้านอื่นๆ ด้วย ระยะห่างจากแนวเขตที่ดินนี้ ใช้บังคับกับทุกอาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลง ระยะห่างจากแนวเขตที่ดินจะห่างมากหรือน้อยเพียงใด ถูกกำหนดให้ขึ้นอยู่กับความสูงของบ้านหรืออาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลง และขึ้นอยู่กับว่าผนังด้านนั้นเป็นผนังทึบ หรือมีช่องเปิดที่ผนัง หรือมีการทำเป็นระเบียงออกมาใช้งาน หรือไม่
    ก่อนจะถึงรายละเอียดของข้อกำหนด เบื้องต้นท่านเจ้าของบ้านพึงทราบไว้ว่า อิฐบล็อกแก้ว” ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ถือเป็น ช่องแสง” หรือ ช่องเปิด” เพราะแม้นว่าอากาศจะผ่านไม่ได้แต่แสงส่องผ่านได้ จึงไม่ถือเป็นผนังทึบอย่างที่หลายคนเข้าใจ ดังนั้นอิฐบล็อกแก้วก็จะต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินเป็นไปตามข้อกำหนดเหมือนช่องเปิดหรือระเบียง
  ข้อกำหนดเรื่องระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน มีกำหนดไว้ทั้งในกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ซึ่งบังคับใช้ทั้งประเทศ และกำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ซึ่งบังคับใช้กับอาคารก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร (เพิ่มเติมจากกฎกระทรวง) ดังนี้
   กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 50 กำหนดไว้ว่า ผนังของอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคารต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
 (1) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
 (2) อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร



    ผนังของอาคารที่อยู่ห่างเขตที่ดินน้อยกว่าตามที่กำหนดไว้ใน (1) หรือ (2) ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เว้นแต่จะก่อสร้างชิดเขตที่ดินและอาคารดังกล่าวจะก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 15 เมตร ผนังของอาคารที่อยู่ชิดเขตที่ดิน หรือห่างจากเขตที่ดินน้อยกว่าที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ต้องก่อสร้างเป็นผนังทึบ และดาดฟ้าของอาคารด้านนั้นให้ทำผนังทึบสูง จากดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ในกรณีก่อสร้างชิดเขตที่ดินต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้นด้วย


ระยะห่างของผนังที่มีช่องเปิดหรือระเบียง สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตรจากแนวเขตที่ดิน





ระยะห่างของผนังที่มีช่องเปิดหรือระเบียง สำหรับอาคารสูงเกิน 9 เมตร ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตรจากแนวเขตที่ดิน
  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 54 กำหนดไว้ว่า อาคารด้านชิดที่ดินเอกชน ช่องเปิด ประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรือริมระเบียงสำหรับชั้น 2 ลงมาหรือสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร และสำหรับชั้น 3 ขึ้นไปหรือสูงเกิน 9 เมตร ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร





ระยะห่างของช่องเปิดหรือระเบียงจากแนวเขตที่ดิน เฉพาะอาคารในเขตกรุงเทพฯ
   *** ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544  ข้อ 56 กำหนดไว้ว่า บ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ให้ผนังด้านที่ไม่มีช่องเปิด (คือ ผนังทึบ) สามารถสร้างห่างเขตที่ดินได้น้อยกว่า 1 เมตร ถ้าห่างน้อยกว่า 50 เซนติเมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินด้านนั้นด้วย

  แม้ทั้งกฎกระทรวงและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเขียนในเรื่องเดียวกัน แต่ถ้าอ่านและดูรูปประกอบจะเห็นว่ามีข้อความต่างกัน และแนวทางปฏิบัติก็ต่างกัน ซึ่งท่านเจ้าของบ้านควรต้องทราบจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง โดยกรณีบ้านที่สร้างอยู่ในต่างจังหวัดให้ยึดตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) แต่หากเป็นบ้านที่สร้างในเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องยึดตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 เป็นหลัก (และก็ต้องดูกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ประกอบด้วย อย่างที่เขียนไว้ข้างต้นว่า กฎกระทรวงนั้นมีการบังคับใช้ทั้งประเทศ ในกรุงเทพฯ จึงต้องปฏิบัติตาม) ขอเขียนสรุปเป็นบ้านที่สร้างในต่างจังหวัดกับบ้านที่สร้างในเขตกรุงเทพฯ เรื่องระยะร่นของผนังทึบ ผนังที่มีช่องเปิด หรือระเบียง ดังนี้
 สำหรับบ้านที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงในต่างจังหวัด
   -  ผนังที่มีช่องเปิด ระยะห่างที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้นจะเป็นระยะห่างของ ผนังทั้งผนังกับแนวเขตที่ดิน  ไม่ใช่คิดเพียงเฉพาะช่องเปิด (แล้วเข้าใจว่าตรงไหนของผนังที่เป็นผนังทึบจะห่างน้อยกว่าที่กำหนดได้) และระยะห่าง 2 เมตรหรือ 3 เมตร จะเป็นไป  ตามความสูงของอาคารทั้งหลัง ไม่ใช่ความสูงของช่องเปิด

  -  ระเบียง แม้กฎกระทรวงไม่ได้กำหนดว่าคือตรงไหนของระเบียง แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าในทางปฏิบัติจะถือเอาริมนอกสุดของระเบียงเป็นแนววัดระยะห่างจากเขตที่ดิน

 -  ผนังทึบ จะต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ถ้าจะทำผนังทึบชิดเขตที่ดิน อาคารดังกล่าวจะต้องสูงไม่เกิน 15 เมตร และต้องให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงเซ็นเอกสารยินยอมให้สร้างชิดเขตที่ดินของเขาได้


 สำหรับบ้านที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงในเขตกรุงเทพฯ

    -  ผนังที่มีช่องเปิด ระยะห่างจากแนวเขตที่ดินที่กำหนดจะเป็นระยะห่างของ ช่องเปิดกับแนวเขตที่ดิน (หมายความว่า ในแนวปฏิบัติยอมให้ส่วนอื่นของผนังที่เป็นผนังทึบด้านนั้น สามารถมีระยะห่างน้อยกว่าที่กำหนดได้ ถ้าไม่ผิดเงื่อนไขเรื่องอื่น เช่น เรื่องที่ว่างโดยรอบอาคาร) และระยะห่าง 2 เมตรหรือ 3 เมตร จะเป็นไป ตามความสูงของช่องเปิด ไม่เหมือนกรณีที่กำหนดในกฎกระทรวง
  -  ระเบียง เขียนระบุไว้ชัดเจนว่าใช้แนวริมระเบียง เป็นแนววัดระยะห่างจากเขตที่ดิน
-   ผนังทึบ จะห่างจากแนวเขตที่ดินน้อยกว่า 1 เมตร ได้ เฉพาะบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร และถ้าผนังทึบนั้นห่างน้อยกว่า 50 เซนติเมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นเอกสารจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้วย

CR: habitiabangyai-home.blogspot.com/
---------------------------------------------
บริการซ่อมหลังคารั่ว ตรวจสอบหลังคารั่ว ด้วยวิศวกร ป้องกันแก้ไขหลังคารั่ว แก้ไขดาดฟ้ารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว รับประกันผลงาน ด้วยบริษัทก.การช่าง ซ่อมหลังคาบ้านรั่วซึม หาวิธีป้องการแก้ไขหลังคารั่ว ระบบกันรั่วซึมหลังคา
------------------------------------------------
สนใจติดต่อสอบถาม
คุณรชต 
ผู้จัดการฝ่ายขายและลูกค้าสัมพันธ์
โทร 081-882-6722
-----------------------------------------------
ก.การช่างทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
ก.การบ้าน รับฝากซื้อ-ขาย ให้เช่า บ้าน คอนโด และที่ดิน
www.kor-karnchang.com
Phone: 095-5419777
Email:cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang


วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

4 วิธีป้องกันน้ำรั่วจากหลังคา




บริการซ่อมหลังคารั่ว ตรวจสอบหลังคารั่ว ด้วยวิศวกร ป้องกันแก้ไขหลังคารั่ว แก้ไขดาดฟ้ารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว รับประกันผลงาน ด้วยบริษัท ซ่อมหลังคาบ้านรั่วซึม หาวิธีป้องการแก้ไขหลังคารั่ว ระบบกันรั่วซึมหลังคา100%
ให้คำปรึกษาปัญหาหลังคารั่วด้วยวิศวกร ช่างทำงานหลังคาโดยตรง พร้อมเทคนิคในการซ่อมให้หาย เรามีความรับผิดชอบต่องาน ทำงาน อย่างจริง บริการงานหลังคารั่ว ดาดฟ้ารั่ว งานป้องกันน้ำรั่วซึมจากหลังคา
รับซ่อมหลังคารั่ว ซ่อมหลังคารั่ว รับซ่อมผนังอาคารรั่ว รับซ่อมหลังคาทุกชนิดน้ำรั่ว รับซ่อมดาดฟ้ารั่ว ซ่อมดาดฟ้ารั่ว เทคนิคและแนวทางในการแก้หลังคารั่วอย่างถาวรและเกิดประสิทธิภาพสูง

1. รั่วมาจากตัวครอบสันหลังคา


การรั่วลักษณะนี่เกิดจากการที่ปูนที่อยู่ใต้ตัวครอบสันหลังคามันเกิดแตกออก ซึ่งอาจจะเกิดจากการถูกฝนกัดเซาะเป็นเวลานาน หรือช่างที่ทำอุดปูนไว้ไม่ดี พอนานวันเข้าก็อาจจะเสื่อมไปตามกาลเวลา พอฝนตกลงมาหนักๆ น้ำก็จะรั่วผ่านช่องว่างที่แตกนี้เข้ามาได้

2. รั่วมาจากโครงหลังคาผุหรือแอ่น


อีกจุดที่มักจะเป็นสาเหตุการรั่วของหลังคาบ้านเก่าที่สร้างมานานแล้วหลายปี ก็คือน้ำรั่วเพราะเกิดช่องว่างระหว่างโครงหลังคากับกระเบื้อง สาเหตุเกิดจากโครงหลังคาไม่ว่าจะเป็นไม้หรือเป็นเหล็กมันเกิดผุพัง หรือแอ่นไปตามกาลเวลา ทำให้กระเบื้องที่เคยเรียงต่อกันอย่างแนบสนิทเกิดช่องโหว่ให้น้ำไหลซึมเข้ามาได้

    วิธีการสังเกตอาการรั่วแบบนี้ทำได้ไม่ยาก แค่พยายามสังเกตแสงที่ลอดส่องเข้ามาผ่านช่องกระเบื้องในบ้าน ถ้ามีแสงลอดผ่านเข้ามาช่องไหน ก็แสดงว่าช่องนั้นนั่นแหละมีปัญหา

3. รั่วมาจากรางรับน้ำตะเข้ผุ


อีกจุดหนึ่งของหลังคาบ้านที่มีโอกาสรั่วได้ก็คือ รางรับน้ำตะเข้ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำมาจากสังกะสี พอโดนน้ำบ่อยๆเข้าก็จะผุกร่อนไปตามกาลเวลา หรือบางทีอาจเกิดจากปีกของรางรับน้ำตะเข้มันสั้นไป ทำให้เวลาที่ฝนตกและมีลมพัดแรงน้ำอาจจะไหลซึมผ่านหลังคาเข้ามาได้ง่าย

4. รั่วจากการขึงเสาอากาศขนาดสูง


อีกจุดที่เราอาจทำให้หลังคารั่วแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นก็คือ จุดที่เราใช้ขึงเสาอากาศ หรือเสาทีวีเอาไว้ เนื่องจากการปักเสาทีวีขนาดสูงบนหลังคานั้นจำเป็นต้องมีลวดสลิงมาเกี่ยวกับชายกระเบื้องประมาณ 3-4 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาอากาศที่มีขนาดสูง ทีนี้พอเวลาฝนตกลมพัดแรงๆ ลวดสลิงที่ขึงไว้มันก็จะไปดึงชายหลังคา ถ้าหากหลังคามันยึดกับโครงไว้ไม่ดี หรือน็อตที่ยึดหลังคาไว้มันหลวม หลังคาก็อาจจะถูกงัดขึ้นมาและเกิดการรั่วซึมได้

นี่ก็เป็นสาเหตุและวิธีการแก้ไขหลังคารั่วเบื้องต้นที่เจ้าของบ้านควรรู้เอาไว้ เผื่อวันไหนฝนตกหนักๆ น้ำเกิดรั่วเข้าบ้านจะได้หาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าช่างได้อีกด้วย หลังคาไม่รั่วตังค์ก็ไม่เสีย โอ้!อะไรจะดีขนาดนั้น 

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปัญหาการต่อเติมบ้านผิดวิธี



ปัญหาการต่อเติมบ้านผิดวิธี
1. ทำให้อาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน
2. ทำให้อาคารฉีกขาดจากโครงสร้างที่เชื่อมกัน

CR: home.sanook.com/
-----------------------
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
ก.การบ้าน รับฝากซื้อ-ขาย ให้เช่า บ้าน คอนโด และที่ดิน
www.kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง 
IG: kor_karnchang

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ต่อเติมครัวกับช่องระบายอากาศและข้อควรรู้

  


 ห้องครัวไทยก็นับเป็นอีกพื้นที่ใช้สอยยอดฮิตที่มีการต่อเติม ซึ่งนอกจากจะต้องคำนึงเรื่องโครงสร้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมายด้วย ที่มีผลกระทบชัดเจนเห็นจะเป็นเรื่องที่ต้องเว้นระยะห่างจากแนวรั้วบ้านอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และบังคับให้ผนังด้านนั้นต้องปิดทึบปราศจากช่องลมหรือช่องระบายอากาศใดๆ เป็นผลให้กลิ่นและควันจากการปรุงอาหารระบายได้ไม่ดีนัก สำหรับปัญหาเรื่องการระบายอากาศห้องครัวต่อเติมนี้ มีวิธีแก้ไขอยู่ 2 แนวทาง แนวทางแรกคือ การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ หากเป็นบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่ด้านข้างเพียงพอ และห่างจากรั้วไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ก็สามารถใช้วิธีเจาะช่องหน้าต่างด้านข้างได้ แต่สำหรับทาวน์โฮมซึ่งไม่มีพื้นที่ดังกล่าว สามารถใช้วิธีทำหลังคาซ้อนกันสองชั้น โดยยกหลังคาผืนบนให้สูงกว่าหลังคาผืนล่าง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างหลังคาทั้งสองผืนขึ้น ตรงนี้เพียงแค่ตีระแนงไม้ซ้อนเกล็ด (อาจใช้เป็นไม้เทียมหรือไม้สังเคราะห์แทนก็ได้) เพิ่มเข้าไปก็จะได้เป็นช่องลม ซึ่งอาศัยการระบายอากาศตามธรรมชาติ ให้ไอร้อนลอยขึ้นระบายออกไปเอง

       ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการระบายอากาศจะขึ้นอยู่กับทิศทางของลมที่พัดภายนอกบ้าน ด้วย เช่น ถ้าหันปะทะลมก็จะทำให้ระบายควันออกได้ยาก เป็นต้น

       อีกแนวทางหนึ่งคือ การติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือบางทีก็เรียกพัดลมระบายอากาศ เมื่อมีการทำอาหารก็เปิดพัดลมให้ดูดควันและกลิ่นออกไปทิ้งด้านนอกห้อง  โดยพัดลมควรหมุนด้วยความเร็วรอบตั้งแต่ 1,500 รอบต่อนาทีขึ้นไป
  • สำหรับห้องครัวขนาด 6เมตร x 3 เมตร หรือประมาณ 18 ตารางเมตร ควรเลือกพัดลมดูดอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว ขึ้นไป (ซึ่งจะระบายอากาศได้ 810 ลูกบาศก์เมตร ต่อ ชั่วโมง หรือ 476ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
  • สำหรับห้องครัวขนาด 4 เมตร x 3 เมตร หรือประมาณ 12 ตารางเมตร ควรเลือกใช้พัดลมดูดอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วขึ้นไป (ซึ่งจะระบายอากาศได้ 540 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง หรือ 317ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
       ทั้งนี้ สำหรับห้องครัวที่ใช้ปรุงอาหารซึ่งก่อให้เกิดควันมาก และมีการใช้งานบ่อยครั้ง อาจหันมาติดตั้งท่อดูดควันเพิ่มบริเวณเหนือเตา จะช่วยลดปริมาณควันหรือกลิ่นในห้องครัวได้มากขึ้น 


   ข้อควรระวังในการต่อเติมห้องครัวแบบปิดทึบอีกประเด็นคือ เรื่องน้ำหนัก ยิ่งทำให้เบาได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้ส่วนต่อเติมมีการทรุดตัวช้าลง สามารถเลือกใช้วัสดุก่อสร้างน้ำหนักเบา อย่างเช่น
  • ผนังก่ออิฐมวลเบา ผนังโครงเบาคร่าวเหล็กตีปิดด้วยไม้ฝา หรือแผ่นผนังโครงเบา เช่น ไม้ฝาสมาร์ทวูด หรือแผ่นผนังสมาร์ทบอร์ด เป็นต้น
  • โครงสร้างเสา คาน หลังคาเลือกใช้เหล็กกล่อง มุงหลังคาด้วยกระเบื้องลอนคู่ เมทัลชีท หรือไวนิล
  • ฝ้าเพดานยิปซั่มหรือสมาร์ทบอร์ด
  • พื้น ใช้คานและตงเหล็ก กรุทับด้วยแผ่นพื้นเบา เช่น แผ่นสมาร์ทบอร์ด เป็นต้น ปูทับด้วยกระเบื้อง
       และเพื่อลดอาการทรุดเอียง ควรกระจายน้ำหนักบนพื้นครัวส่วนต่อเติมให้เท่าๆ กัน ไม่ควรหล่อเคาน์เตอร์ครัวปูน สร้างห้องน้ำ หรือวางถังเก็บน้ำ ค่อนไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งของส่วนต่อเติม  นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างในการต่อเติมครัว (รวมถึงส่วนต่อเติมอื่นๆ ทุกกรณี) คือควรแยกโครงสร้างออกจากโครงสร้างเดิม ไม่นำไปฝากกัน เพราะจะทำให้เกิดการทรุดเอียงซึ่งจะแก้ไขได้ยาก  

       นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดอีกว่า ห้ามไม่ให้น้ำฝนจากหลังคากระเด็นไปสร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน จึงต้องติดตั้งรางรับน้ำฝนที่ปลายชายคา จะให้ดีควรใช้รางน้ำฝนจากวัสดุที่มีความคงทน น้ำหนักเบา และไม่มีการรั่วซึม ประโยชน์ทางอ้อมที่ได้รับจากการติดตั้งรางน้ำฝนคือ การรวบรวมน้ำฝนจากรางมาเก็บเอาไว้ในถังเก็บน้ำ  ก่อนจะนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ แต่ถ้าต้องการนำไปซักผ้าและนำไปล้างรถ ควรนำน้ำไปผ่านการกรองสิ่งสกปรกเสียก่อน หรืออาจเลือกใช้เครื่องกรองชนิดที่สามารถติดตั้งเข้ากับท่อระบายน้ำจากรางน้ำฝนได้เลย เพื่อความสะดวกในการใช้งาน


CR:.scgbuildingmaterials.com/
---------------------------------------------------


ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
ก.การบ้าน รับฝากซื้อ-ขาย ให้เช่า บ้าน คอนโด และที่ดิน
www.kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง 
IG: kor_karnchang

CONSULT WITH OUR EXPERIENCE by Kor-Karnchang


ทุกปัญหาเรื่องบ้านที่นี่มีคำตอบ 
พบ Kor-Karnchang EXPERIENCE Team *ก.การช่างทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน

ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
ก.การบ้าน รับฝากซื้อ-ขาย ให้เช่า บ้าน คอนโด และที่ดิน
www.kor-karnchang.com
Phone: 095-5419777
Email:cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง 
IG: kor_karnchang

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ก.การช่าง ควรรู้เกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน




01 สิ่งที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว

1. ประเด็นด้านกฏหมายในการต่อเติมบ้านใหม่
การต่อเติมหรือดัดแปลงอาคาร ตามรายละเอียดต่อไปนี้ จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจกาทางราชการ
-การขยายพื้นที่ชั้นหนึ่งชั้นใด ตั้งแต่ 5 ตร.ม.
-เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
-เพิ่ม-ลด จำนวน หรือ เปลี่ยนเสา คาร บันได และผนัง

อาคารจะต้องมีระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
-สำหรับทาวน์เฮาส์และตึกแถว พื้นที่ว่างด้านหลังกว้าง 2 ม. จะต้องเว้นว่างไว้เพื่อเป็นทางหนีไฟ
-ผนังด้านที่เปิดประตู หน้างต่าง ที่สูงไม่เกิด 9 ม. ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.0 ม. สำหรับ ที่สูงเกิน 9.0 ม. ต้องห่าง 3.0 ม. ผนังที่ไม่มีช่องเปิดต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.50 ม. ยกเว้น แต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง

จะเห็นได้ว่าตามกฏหมายนั้น ทาวน์เฮาส์ และตึกแถวแทบจะไม่สามารถต่อเติมใด ๆ ได้ตามกฏหมาย ยกเว้น แต่มีพื้นที่เหลือด้านหลังมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการต่อเติมอย่างถูกต้องก็ต้องมีการ ยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วย แต่ที่เห็นว่ามีการก่อสร้างต่อเติมอยู่ทั่วไปก็เพราะทางราชการอนุโลมให้ หากไม่มีปัญหาใด ๆ กับบ้านข้างเคียง

2.ประเด็นความขัดแย้งกับบ้านข้างเคียง

จากประเด็นที่ 1 จะเห็นได้ว่าการที่จะสามารถต่อเติมได้อย่างไม่มีปัญหานั้น จำเป็นจะต้องมีการ พูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนว่าจะมีการต่อเติมบ้าน เพราะหากบ้านข้างเคียงไม่ยินยอม และไป ร้องเรียนกับทางราชการก็จะมีปัญหาตามมาค่อนข้างมาก แต่หากบ้านใดมีพื้นที่มากพอจนสามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ยังคงต้อง รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างต่อบ้านข้างเคียงด้วย เช่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม การเคลื่อนตัวจากการขุดดิน ปัญหาเสียง หรือ ฝุ่นผง ซึ่งหากมีปัญหาจนบ้านข้างเคียงรับไม่ได้ อาจเกิดการฟ้องร้อง ให้หยุดการสร้าง และ สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความเสียหาย

3.การต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว

เป็นงานที่ต้องอาศัยวิศวกรเป็นผู้ออกแบบงานส่วนต่อเติมให้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัด และต้องคำนึงถึง สภาพปัจจุบันของอาคาร ตลอดจนสภาพพื้นที่ส่วนที่จะต้องการ ต่อเติม ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงาน การเลือกใช้ระบบของเสาเข็ม การขนย้ายวัสดุก่อนสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วบริเวณ รอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม
02 ข้อแนะนำในการต่อเติมบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ 

1.รูปแบบทางสถาปัตยกรรม

โดยทั่วไปการออกแบบบ้าน ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงการระบายอากาศ แสงสว่าง ตลอดจน ความปลอดภัยเมื่อเกิดปัญหาเพลิงไหม้ แต่เมื่อมีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยอาคารแล้ว สิ่งที่ เจ้าของบ้านมักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป มักจะมองเฉพาะต้องการพื้นที่ใช้งานสูงสุด โดยเฉพาะ ทาว์เฮาส์ที่มีพื้นที่ด้านหลังชิดกับบ้านข้างเคียงทั้ง 3 ด้าน เมื่อต่อเติมแล้วมีปัญหาว่าร้อน ลมไม่พัดเข้าบ้าน ภายในบ้านมืด ต้องติดตั้งระบบปรับอาการศ และต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน รูปแบบที่แนะนำสำหรับการต่อเติมพื้นที่หลังบ้านก็คือ พยายามให้เปิดช่องระบายอากาศ โดย ให้อากาศสามารถถ่ายเทจากหน้าบ้านมาออกที่ช่องที่เปิดไว้ในส่วนหลังบ้าน หากมีพื้นที่จำกัด ให้ออกแบบหลังคาเป็น 2 ชั้น เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ หรือหากมีพื้นที่หลังบ้านกว้างพอ ก็ให้เปิดเป็นพื้นที่่ว่างโดยไม่มีผนัง เพื่อให้สามารถใช้เป็นพื้นที่ซักล้างให้แห้ง และลมสามารถ เข้าถึงได้ ก็จะทำให้ภายในบ้านไม่มีปัญหาอับลมและมีตลอดเวลาได้

2. รูปแบบทางด้านโครงสร้างบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว บ้านใหม่

หลักการในการต่อเติมจะต้องแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมใหม่ให้เป็นโครงสร้างต่างหาก ที่สามารถอยู่ได้โดยตัวเอง การแยกโครงสร้างจะต้องให้แยกขาดจริง ๆ โดยต้องเว้นให้เกิดช่องว่าง ระหว่างอาคาร ถ้ามีพื้นที่พอ แต่ถ้าไม่มีก็ให้กั้นด้วยโฟม เพื่อไม่ให้มีการเชื่อมต่อของโครงสร้างเดิม กับโครงสร้างใหม่ ซึ่งรวมถึงห้ามเชื่อมต่อวัสดุปูผิว และผนังก็ควรเว้นช่องไว้ แล้วอุดด้วยวัสดุยาแนว ประเภท โพลียูรีเทน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึม ส่วนหลังคาก้ให้ทำปีกนอกยึดติดกับตัวอาคารเดิม ยื่นมาคลุมอาคารที่ต่อเติม เพื่อป้องกันน้ำรั่วบริเวณรอยต่อ

ข้อมูลจาก : สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

03 ปัญหาการต่อเติมบ้านผิดวิธี
1. ทำให้อาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน
2. ทำให้อาคารฉีกขาดจากโครงสร้างที่เชื่อมกัน

04 หลักการต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธีต่อเติมบ้านอย่างถูกวิธี

1.โครงสร้างอาคารส่วนต่อเติม
-ต้องแยกจากอาคารเดิม (บ้านของโครงการ) ต้องแยกจากรั้วรอบด้าน โดยเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยง ความเสียหายที่เกิดจากการทรุดตัวต่างระดับระหว่างอาคารเดิมกับอาคารส่วนต่อเติม

2. ลักษณะฐานรากของอาคารส่วนต่อเติมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
-ต่อเติมโดยใช้ Micro Pile ที่มีความยาวเท่ากับความยาวเสาเข็มของอาคารบ้านเดิม
-ต่อเติมโดยใช้เสาเข็มสำเร็จรูป ความยาวประมาณ 6 เมตร (ยกเว้น เขตกรุงเทพฯ โซนใต้ เช่น ปากน้ำ พระประแดง แนะนำให้ใช้เข็มยาวเท่านั้น)


CR: home.sanook.com/
-----------------------
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
ก.การบ้าน รับฝากซื้อ-ขาย ให้เช่า บ้าน คอนโด และที่ดิน
www.kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง 
IG: kor_karnchang