วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

8 ขั้นตอนการ ทุบตึก

ขั้นตอนการ ทุบตึก ?

  1. ขอใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปรง รื้อถอนอาคาร ที่สำนักงานโยธาในเขตพื้นที่
  2. ประเมินหน้างานเพื่อวางแผนปฏิบัติงาน ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานจริง
  3. แจ้งเพื่อนบ้าน หรือบริเวณชุมชนใกล้เคียง เนื่องจากอาจมีเสียงดังและฝุ่นรบกวน ในบริเวณนั้น
  4. เตรียมระบบน้ำประปา ไฟฟ้า เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่างๆ
  5. จัดทำประกันในกรณีงานที่มีความเสี่ยงสูง
  6. เตรียมพื้นที่สร้างรั่ว กันวัสดุตกหล่น ปิดกันรอบบริเวณ
  7. คลุมอาคารด้วยผ้าใบ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย
  8. ลงมือทุบทำลายอาคาร
CR: tubetuk.com

---------------------------------------------------------

ช่องทางการติดต่อ ก.การช่าง

ทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน

ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่



วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนในการขออนุญาต


ขั้นตอนในการขออนุญาต
1. ยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร  ,  ดัดแปลงอาคาร ,  รื้อถอนอาคาร  (แบบ  ข.1)
2.เมื่อผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตแล้ว  ท่านจะต้องมายื่นขอรับใบอนุญาตดังต่อไปนี้
    2.1  ใบแจ้งการออกใบอนุญาตก่อสร้าง,ดัดแปลง,รื้อถอนอาคาร  ภายใน  45  วัน  นับแต่วันที่ขออนุญาต
    2.2  ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร , ดัดแปลงอาคารรื้อถอนอาคาร  (แบบ  อ.1)  ให้ท่านไปขอรับใบอนุญาตภายใน  30  วัน  นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งออกใบอนุญาตไว้  หากประสงค์จะขออนุญาตอีกจะต้องดำเนินการเช่นเดียว  กันกับการขออนุญาตใหม่
หลักฐานประกอบการขออนุญาต
หลักฐานที่สำคัญ

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน  จำนวน  1  ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดินจำนวน  1  ชุด
3. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง  จำนวน  1  ชุด
4. แบบแปลน  ผังบริเวณและรายการประกอบแบบแปลนจำนวน  4  ชุด  ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
     4.1  รายการประกอบแบบ                                  4.2  แผนที่สังเขป
     4.3   รูปแปลนพื้น                                            4.4  รูปด้าน  4  ด้าน
     4.5   รูปตัด  2  ด้าน                                         4.6  รูปโครงหลังคา
     4.7   รูปแปลนคาน , คานคอดิน,ฐานราก               4.8  รูปขยายส่วนต่าง ๆ  ของโครงสร้าง  (คาน , เสา, ฐานราก)
     4.9  รูปแปลนไฟฟ้า , สุขาภิบาล                        4.10  รายการคำนวณ  (กรณีเป็นอาคาร  2  ชั้นขึ้นไป)
5. หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน  (กรณีที่เจ้าของอาคารไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารนั้นตั้งอยู่)
6. หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน
(กรณีที่อาคารก่อสร้างชิดเขตที่ดินน้อยกว่า  50  ซม.)
ค่าธรรมเนียมในการขออนุญาต
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต

1.  ใบอนุญาตก่อสร้าง       ฉบับละ  20  บาท
2.  ใบอนุญาตดัดแปลง      ฉบับละ  10  บาท
3.  ใบอนุญาตรื้อถอน         ฉบับละ  10  บาท
4.  ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย  ฉบับละ  10  บาท
5.  ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้  ฉบับละ  20  บาท
6.  ใบรับรอง                        ฉบับละ  10  บาท
7.  ใบแทนใบอนุญาตหรือ  ใบแทนใบรับรอง
ฉบับละ  10  บาท
ค่าธรรมเนียมการต่อใบอนุญาต
1.  ใบอนุญาตก่อสร้าง       ฉบับละ  20  บาท
2.  ใบอนุญาตดังแปลง       ฉบับละ  10  บาท
3.  ใบอนุญาตรื้อถอน         ฉบับละ  10  บาท
4.  ใบอนุญาตเคลื่อนย้ายฉบับละ  10 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่อใบอนุญาต
1.      อาคารซึ่งสูงไม่เกินสองชั้นหรือสูงไม่เกิน  12  เมตร  ตารางเมตรละ  0.5  บาท
2.      อาคารซึ่งสูงเกินสองชั้นแต่ไม่เกินสามชั้น  หรือสูงเกิน  12  เมตร  แต่ไม่เกิน  15  เมตร  ตารางเมตรละ  2  บาท
3.      อาคารซึ่งสูงเกินสามชั้นหรือสูงเกิน  15  เมตร  ตารางละ  4  บาท
4.      อาคารซึ่งมีพื้นที่รองรับน้ำหนักน้ำหนักบรรทุกเกิน  50  กก.  ต่อหนึ่งตารางเมตร  ตารางเมตรละ  4  บาท
5.      พื้นที่ที่จอดรถ  ที่กลับรถ  และทางเข้าออกของรถ  ตารางเมตรละ  0.5  บาท
6.      ป้ายตารางเมตรละ  4  บาท
7.      อาคารประเภทซึ่งต้องวัดความยาวเช่น  เขื่อน  ท่อ  หรือทางระบายน้ำ  รั้ว  กำแพง  ติดตามความยาว  เมตรละ  1  บาท
service
ถ้าใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดทำอย่างไร
ถ้าใบอนุญาตใดๆ  ก็ตามสูญหายให้แจ้งความแล้วนำใบรับแจ้งความนั้นไปยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลทองมงคล  เพื่อนขอรับใบแทนใบอนุญาตนั้น
ถ้าใบอนุญาตใดๆ  ชำรุดในสาระสำคัญให้นำใบอนุญาตนั้นไปยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลทองมงคล  เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาต
อ้างอิง: thongmongkol

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การขออนุญาตสร้างบ้าน




การสร้างบ้าน การขอเลขประจำบ้าน และการรื้อถอนบ้าน          บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของเรา การมีบ้านเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป        
          
ดังนั้น การปลูกบ้านที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบจึงเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดีและเสริมสร้างความดีงามแก่จิตใจ

ขั้นตอนในการปลูกสร้างบ้าน
          
1. ในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร ที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาตแบบแปลนเสียก่อนและจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้โดยยื่นคำร้อง ได้ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา และสำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานคร อำเภอ แล้วแต่กรณี
          
2. บริเวณนอกเขตควบคุมตามข้อ บ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างไม่ต้องอนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย
การแจ้งการปลูกสร้างบ้านและผู้มีหน้าที่รับแจ้ง
          
เมื่อปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ คือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้าน
          
1. หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้าน หรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศ ใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง)          2. สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัว ของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย
          
3. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี)           4. ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
วิธีการรับแจ้ง
          
เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินกรในเรื่องการ ย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านในโอกาสต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้าน ที่นายทะเบียน กำหนดให้นั้น ให้เจ้าบ้านไปจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้วบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดแจ้ง
การรื้อถอนบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน
          
เมื่อได้มีการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไป ปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งภายใน วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จพร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
          
การก่อสร้าง การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้อง กันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร
หลักเกณฑ์
          
1. ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต(ข.1) ที่สำนักการช่าง           2. หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องมายื่นประกอบแบบแปลนดังนี้
                    
แบบแปลนก่อสร้าง ชุด
                    
ภาพถ่ายเอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขออนุญาต ชุด
                    
ภาพถ่ายเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน(หน้า-หลัง) ผู้ขออนุญาต ชุด
                    
ภาพถ่ายเอกสารโฉนดที่ดินนส.ถ่านต้นฉบับจริงทุกหน้า ชุด
                    
รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
          
3. กรณีสร้างในที่ของบุคคลอื่น มีหลักฐานดังต่อไปนี้
                    
หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดิน
                    
ภาพถ่ายเอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ชุด
          4. กรณีตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกันกับบุคคลอื่น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                    
หนังสือตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกัน ชุด
                    
ภาพถ่ายเอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้ขอทำความตกลง ชุด                    ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ชุด
                    
รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
          
5. ขณะนี้กองช่าง มีแบบบ้านบริการประชาชน 30 แบบ
                    
มีอาคารชั้นเดียวและสองชั้น
                    
ขณะนี้เทศบาลได้ใช้เทศบัญญัติเรื่องควบคุมอาคารฉบับใหม่แล้ว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่กองช่าง
          
6. หน้าที่อื่นๆ ที่ต้องขออนุญาตกับกองช่าง
                    
ขอกองวัสดุในเขตทางหลวงเทศบาล
                    
ตัด คัดหินทางเท้าคอนกรีต
                    
เชื่อมท่อระบายน้ำจากอาคารลงสู่ท่อสาธารณประโยชน์

อ้างอิง ban4u

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สไตล์บ้านมีกี่แบบ อะไรบ้าง



1. บ้านแบบคลาสสิค (Classic Style)
บรรดาแบบบ้านที่เราพบเห็น บ้านแบบ คลาสสิค (Classic) มักจะเป็นที่ชื่นชอบขอบรรดาผู้ที่มีฐานะ หรือคนที่มีหน้ามีตาในสังคม เพราะด้วยรูปลักษณ์ของบ้านจะเป็นบ้านหลังใหญ่ อลังการ หรูหราคล้ายปราสาท ราชวังตามต่างประเทศหรือในเทพนิยาย
เป็นบ้านที่รวบรวมยุคสมัยต่างๆ ไว้ด้วยกัน ยุคกรีก-โรมัน, เรอเนซองส์, โบซาร์ตส, หลุยส์, โพสต์โมเดิร์น, นีโอคลาสสิค, โมเดิร์นคลาสสิค คอนเทมฌพรารี คลาสสิค ซึ่งแบบบ้านแบบนี้จุดเด่นคือ เสากลมที่ประดับหัวเสาและฐานเสา ตั้งอยู่ตามส่วนต่างๆ ของบ้าน หัวเสามีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ ดอริค, ไอโอนิค และคอเรียนเทียล และเอกลักษณ์ที่สำคัญคืองานปูนปั้น




2. บ้านแบบโอเรียลทอล (Oriental Style)
บ้านสไตส์นี้จะแสดงถึงความมีเสน่ห์ในแบบชาวตะวันออก มีเอกลักษณ์ชัดเจน ผสมผสานหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เป็นการออกแบบตามสภาพภูมิอากาศ วิถีชีวิต คติธรรมทางศาสนา วัฒนธรรมของชาติ อาจจะสื่อผ่านลวดลายที่ปรากฏบนเฟอร์นิเจอร์ และมีความเชื่อทางด้านฮวงจุ้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง ถึงจะมีการรับเอารูปแบบอาคารทางตะวันตกเข้ามา แต่ความเป็น Oriental  ก็ยังมีเอกลักษณ์โดดเด่น




3. บ้านแบบไทยประยุกต์  (Thai Style)
เป็นบ้านที่มีรูปแบบพัฒนามาจากบ้านเรือนไทยเราในอดีต โดยนำมาปรับเปลี่ยนเอาเอกลักษณ์เด่นๆ ของบ้านเรือนไทยมาประยุกต์ให้เข้ากับการเป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถประยุกต์ได้ 2 แนวทาง

3.1  การประยุกต์จากพื้นที่ใช้สอย เป็นการนำลักษณะการจัดวางผังแบบบ้านเรือนไทยสมัยก่อน ที่มีการแยกเรือนโดยมีชานระเบียงหรือสวนกลางบ้านเชื่อมพื้นที่ใช้สอยต่างๆภายในบ้าน

3.2   การประยุกต์จากรูปแบบ เป็นการนำลักษณะเด่นของบ้านเรือนไทย เช่นหลังคาทรงสูงชัน ที่ระบายน้ำฝนได้ดี ชายคาที่ยื่นยาว สามารถกันแดดและฝนได้ดี หน้าต่างประตูทรงสูง โปร่งช่วยในการระบายอากาศ




4. บ้านแบบร่วมสมัย (Contemporary Style)
บ้านสไตส์ร่วมสมัยนี้เป็นที่นิยม เพราะเป็นแนวกลางๆ ผสมระหว่างสไตส์ Classic และสไตส์ Modern เข้าไว้ด้วยกัน แต่ไม่หรูเกินไปเหมือนคลาสสิกและก็ไม่เรียบเกินไปเหมือนโมเดิร์น  และเส้นสายที่ใช้ออกแบบจะโค้งมนนุ่มนวลกว่าเมื่อเทียบกับเส้นสายที่คมเฉียบของสไตส์โมเดิร์น




 5. บ้านแบบสมัยใหม่ (Modern Style)
การออกแบบบ้านสไตส์โมเดิร์น เป็นการออกแบบโดยมีแนวคิดตอบสนองต่อประโยชน์ใช้สอยอย่างตรงไปตรงมาและมีเหตุผล “Form Follows Function” โดยการลดการประดับตกแต่งที่สิ้นเปลืองฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นอกไป ทำให้อาคารที่ออกแบบมีรูปทรงเรขาคณิต แต่อาคาร

สไตส์โมเดิร์นไม่ได้ถูกจำกัดโดยแบบแผนหรือรูปแบบตายตัวเหมือนอาคารสไตส์อื่นๆ

วัสดุที่ใช้ยังเป็นวัสดุอุตสาหกรรมสมัยใหม่เช่น เหล็ก คอนกรีต กระจก ทำให้อาคารมีลักษณะโปร่ง มีที่ว่าง




6. บ้านแบบอิงธรรมชาติ (Tropical Style)
 บ้าน Tropical Style เป็น Style ที่ตอบโจทย์สภาวการณ์ปัจจุบันได้อย่างดีในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะการออกแบบจะมีองค์ประกอบของธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วม และการนำเอาวัสดุท้องถิ่นตามธรรมชาติเข้ามาตกตอต่ง พื้นทางเดิน หน้าระเบียง ระแนงบังแดด หรือผนังบางจุดที่กรุหินธรรมชาติ รวมกระทั่งสวนซึ่งป็นสิ่งสำคัญของบ้าน Tropical Style

 การนำแสงธรรมชาติมาใช้ และคำนึงถึงการออกแบบฟังก์ชั่นต่างๆภายในโดยการดึงบรรยากาศภายนอกเข้ามาสู่ตัวบ้าน เป็นการออกแบบที่เน้นให้เราสัมผัสธรรมชาติได้แม้จะอยู่ในบ้าน

CR: oknation.net


วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คู่มือตรวจรับบ้านและคอนโด

คู่มือตรวจรับบ้านและคอนโด
คู่มือตรวจรับบ้านและคอนโด

นอกจากนี้ยังมี กล้องถ่ายรูป ชอล์กสี หรือ Post it ไว้สำหรับทำเครื่องหมายจุดบกพร่อง รวมถึงไฟฉาย สายยาง ถังน้ำ และเศษผ้า สำหรับใช้ทดสอบการระบายน้ำในห้องน้ำ โดยนำผ้าอุดท่อระบายน้ำแล้วนำน้ำในถังน้ำเท เอาเศษผ้าออก แล้วเช็คดูการระบายน้ำว่ามีการท่วมขังหรือไม่

โทรศัพท์นั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ควรใช้ 2 เครื่องเพื่อทดสอบสัญญาณการโทร (อาจต้องมีคน 2 คน) ส่วนการทดสอบไฟให้นำโคมไฟเล็ก มาใช้ทดสอบ ส่วนผนังปูน ทดสอบโดยการใช้เหรียญ 10 บาท เคาะผนัง ทดสอบการกะเทาะของปูนตามรอยร้าว
ส่วนการแก้ไขต่างๆ นั้นควรบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เก็บไว้ที่เราชุดหนึ่ง และถ่ายสำเนาให้ผู้รับเหมา “เซ็นรับทราบ”อีกชุดหนึ่ง และให้ผู้รับเหมานัดวันตรวจครั้งที่สองในวันนั้นเลย ซึ่งตอนมาตรวจการแก้ไขก็สามารถไล่ตรวจตามรายการดังกล่าวได้ทันที

 Tip! เด็ดที่แนะนำ » ระยะเวลาในการตกแต่งภายใน ใช้ส่วนไหน เท่าไหร่บ้าง?

ขั้นตอนการตรวจรับบ้านและคอนโด เบื้องต้นนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบหมายเลขเข็มหมุดเขตที่ดินทั้งสี่ทิศ
  2. เช็คมิเตอร์ น้ำ ไฟ ก่อนโอน ว่าไม่มีการค้างชำระ
  3. จดรายละเอียดเกี่ยวกับ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ลงนามในแบบก่อสร้าง(ชื่อ,นามสกุล,เบอร์ที่สามารถติดต่อ)
  4. นำชอล์ก หรือ Post it ทำเครื่องหมาย ในจุดที่ต้องแก้ไข แล้วถ่ายรูปเก็บไว้
  5. สอบถามเรื่องการ เก็บขยะ วันเวลา โดยประมาณ รวมถึง ช่วงเวลาจ่ายค่าไฟฟ้า และประปา
  6. ขอใบรับประกันต่างๆ ของบ้าน (ใบรับประกันการมุงหลังคา ฉีดกันปลวก แอร์ ระบบตัดไฟ ปั้มน้ำ เครื่องดูดควัน เป็นต้น)
  7. ขอแบบบ้านพิมพ์เขียว (บางโครงการอาจให้) โดยด้านในจะประกอบไปด้วยระบบประปา สุขาภิบาล ผังไฟฟ้า และส่วนอื่นๆ โดยอาจขอควรเป็นแบบที่มีการแก้ไขในขณะก่อสร้าง (As-Build Drawing) จะดีที่สุดเพราะจะมีประโยชน์อย่างมากในการแก้ไขซ่อมแซม หรือต่อเติมในอนาคต
  8. ขอรายละเอียดของ Spec เบอร์”สี”ที่ใช้ เผื่อไว้ในเวลาที่ต้องซ่อมแซมทาสีแต่งเล็กๆ น้อยๆ (ตรงจุดนี้มีโอกาสได้ใช้สูง เนื่องจากการเจาะผนังผิดในบ้านเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้) นอกจากนั้นแล้ว ภายในบ้านควรมีกระเบื้องปูพื้นที่ใช้ในบ้าน สำรองเอาไว้ เผื่องานซ่อม เพราะหากไปซื้อทีหลัง สีอาจเพื้ยนได้เช่นกัน
  9. ตรวจนับจำนวนกุญแจให้ครบถ้วนตามสัญญา
  10. ตรวจสอบตามรอยต่อระหว่างวัสดุกับจุดที่มีการเปลี่ยนของระดับพื้น เพราะมีโอกาสสูงที่งานก่อสร้างมักไม่ค่อยเรียบร้อย
  11. ก่อนโอนรับห้อง ต้องรอให้งานเรียบร้อยก่อนโอน!!

ต่อจากนั้นให้ตรวจอย่างละเอียด โดยมีจุดใหญ่ๆ ดังต่อนี้

  • ระบบโครงสร้าง
ตรวจเช็คความลาดเอียง รอยร้าวต่างๆ โดยเฉพาะในบริเวณ พื้น คาน เสาซึ่งถือว่าเป็นส่วนโครงสร้างสำคัญที่สุดของบ้าน

โครงสร้างบ้าน
โครงสร้างบ้าน

  • สภาพภายนอกตัวบ้าน
ตรวจดิ่ง ฉาก ของท่อระบายน้ำ ท่อประปา สภาพของทางระบายน้ำ ถังบำบัด ท่อน้ำทิ้ง และท่อน้ำดี ท่อต่างๆ เหล่านี้มีระยะความลาดเอียงเป็นอย่างไร ระบายน้ำได้ดีหรือไม่ ฝาท่อระบายน้ำเรียบร้อยสวยงามหรือไม่ ผนังบ้านด้านนอกมีจุดที่แหว่งหรือมีสีเลอะเทอะ หรืองานปูนในส่วนที่เป็นซอกมุมเรียบร้อยหรือไม่ หลังบ้านต้องไม่มีน้ำขังเป็นหลุมเป็นบ่อ โดยสามารถลองทดสอบได้โดยการเทน้ำราดทดสอบดู

  • งานใต้หลังคา
อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ มีไขควงวัดไฟ รองเท้าพื้นยาง และถุงมือหนา กันไฟดูด บันไดยาว สำหรับปีนขึ้นใต้หลังคา ไฟฉาย กล้องถ่ายรูปตรวจงาน ซึ่งถ้าเป็นหน้าฝนก็จะทำการตรวจสอบส่วนนี้ได้ง่าย ซึ่งหากไม่ใช่หน้าฝน จะตรวจเช็คได้ลำบาก เพราะต้องหาสายน้ำพร้อมกับเครื่องปั้มน้ำแรงดันสูง มาตรวจสอบโครงหลังคาว่าได้ฉากได้ระดับหรือไม่ ระยะห่างของแปเป็นอย่างไร การติดตั้ง และการยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาถูกต้องเท่ากันหรือไม่

หลังคา
หลังคา

นอกจากนี้ ให้ดูการซ้อนทับของกระเบื้องถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้ง ความลาดเอียง ครอบสันเป็นอย่างไร มีแผ่นกระเบื้องบางแผ่นแตก หรือมีการรั่วซึมหรือไม่ ไม้ระแนง และไม้เชิงชาย มีการไสแต่งผิวเรียบเนียน มีขนาดสม่ำเสมอกันไหม และได้ทาน้ำยากันปลวก และรักษาเนื้อไม้หรือไม่

  • ระบบน้ำ
ระบบน้ำนั้นเป็นส่วนสำคัญ ให้เช็คระบบช่องน้ำล้น โดยขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า อ่างครัว ที่ซักผ้า โดยขังน้ำให้เต็มดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือไม่ แล้วปล่อยน้ำไหลออกดูว่าไหลดีหรือไม่ ถ้ามีอาการปุดๆ แสดงว่าไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศเล็กไป ให้ทดลองใช้พร้อมกัน ดูการแยกน้ำ กดสายชำระดูว่าใช้ดีหรือไม่

ตรวจ ระบบน้ำ
ตรวจ ระบบน้ำ

นอกจากนั้น ให้เช็คความลาดเอียงของพื้นในส่วนเปียกที่จำเป็นต้องมีการไหลระบายถ่ายเทของน้ำต้องมีความลาดเอียงไปสู่ท่อระบายน้ำ อย่างห้องน้ำ กันสาดลานจอดรถ หรือลานซักล้าง โดยการเทราดน้ำตามจุดดังกล่าว และดูว่ามีที่ท่วมที่ขังอย่างไรบ้าง ตรงไหนท่วม และอย่าลืมตรวจสอบปั้มน้ำ และก๊อกน้ำทุกหัวในบ้านว่าน้ำรั่วหรือไม่ สุดท้ายให้เช็คมิเตอร์น้ำ โดยการลองปิด เพื่อดูว่ามีจุดไหนในบ้านรั่วหรือไม่

  • ระบบไฟฟ้า
อุปกรณ์ที่ใช้
  1. ไขควงวัดไฟ และไขควง 4 แฉก
  2. โคมไฟเล็กหรือไดร์เป่าผม(Test ไฟฟ้า)
  3. รองเท้าแตะ หรือรองเท้าพื้นยาง กันไฟดูด พร้อมกับถุงมือหนา กันไฟดูด
  4. บันไดยาว ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป

ระบบไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้า

ขั้นตอนการตรวจสอบไฟฟ้า
  1. เปิดไฟฟ้าทั่วทุกดวง
  2. เอาไขควงจิ้มที่น็อต ดูว่ามีไฟรั่วมาที่น็อตหรือเปล่า และใช้ไขควง 4 แฉกเปิดปลั๊กไฟทุกจุด หรือสุ่มดูว่ามีการเดินไฟเอาไว้กี่เส้นต้องมีสายดินต่อเอาไว้ พอเปิดออกมาแล้วจะเห็นสายไฟต้องมี 3 เส้นพอเสร็จแล้วให้เอาไดร์เป่าผม หรือโคมไฟเสียบแล้วลองใช้ดูว่ามีปลั๊กไฟอันไหนบ้างไม่มีไฟ
  3. ตรวจสอบห้องน้ำมีการเดินสายไฟเอาไว้ให้สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่น หรือยัง หากห้องไหนมีอ่างอาบน้ำแล้วจำเป็นต้องใช้เครื่องทำน้ำร้อน ก็ให้เดินสายไฟให้ก่อนที่จะทำการตรวจรับมอบบ้าน หรือเป็นไปได้ให้เขียนในสัญญาว่าให้เดินสายไฟให้ฟรี การเดินสายไฟให้เดิน 3 เส้น (มีสายดิน) แล้วที่สำคัญ ต้องมี Breaker ให้ด้วย
  4. ปีนไปดูใต้หลังคา โดยให้ปิด Main Breaker แล้วเอาไฟฉายขึ้นไปดูว่ามีการร้อยสายไฟเอาไว้ในท่อให้เรา หรือเปล่า หากไม่มีให้ทำด้วย รวมถึงใต้ฝ้า เพราะหากหลังคารั่วน้ำมาโดนสายไฟจะเป็นอันตรายกับบ้าน และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ สายไฟ MAIN อย่างน้อยต้องเป็น 16 square/mm หากสูงกว่านี้ได้ยิ่งดี นอกจากนี้ ต้องไม่มีรอยทำการตัดต่อเป็นอันขาด หากมีการตัดต่อให้ทางโครงการเปลี่ยนให้ เพราะอันตราย มีโอกาสที่ไฟฟ้าลัดวงจรแล้วเกิดเพลิงไหม้ได้สูง
  5. ปิดไฟให้หมดทั้งบ้าน (ไม่ต้องปิด Main Breaker) แล้วไปดูที่มิเตอร์ไฟว่ามีไฟวิ่งอยู่หรือเปล่า หากมิเตอร์ยังวิ่งแสดงว่ามีไฟรั่วให้ทำการตรวจหาแล้วทำการแก้ไขเสียก่อน
  6. หากทางโครงการแถมติดแอร์ให้ฟรี ให้เปิดแอร์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะสามารถเปิดได้ โดยเปิดให้หมด พร้อมกันทุกตัว สักประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเดินไปดูที่มิเตอร์ไฟว่ามันวิ่งแบบน่ากลัวหรือเปล่า หมุนติ้วๆ เพื่อทำการเช็คได้ว่ามิเตอร์จะทำการรับการใช้งานได้หรือเปล่า แอร์ต้องไม่ตัดอุปกรณ์ทุกอย่างต้องไม่ตัด
  7. ปลั๊กไฟนอกอาคาร ต้องเป็นปลั๊กไฟที่มีตัวปิดกันน้ำให้ด้วยเพราะเวลาฝนตก หรือฝนสาดจะได้ไม่เป็นอันตราย
  8. กระดิ่งไฟหน้าบ้าน ให้ไขออกมาดูว่าเดินไฟ 3 เส้นหรือเปล่า เป็นรุ่นที่มียางกันน้ำ หรือมีกล่องครอบกันน้ำหรือเปล่า สำคัญมากๆ เพราะหากกระดิ่งไฟหน้าบ้าน เกิดชื้นขึ้นมา จะทำให้ กล่อง Safe-t-Cut ตัดตลอด
  9. ดูระบบตัดไฟเมนเบรกเกอร์พร้อมแบ่งชั้นบน-ล่าง มีการต่อสายดินไว้จริง โดยดูจุดลงสายดินให้เรียบร้อย หรือควรหาไขควงวัดไฟจี้ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินตรงน็อตสักตัวเพื่อหาไฟรั่ว ทดสอบโดยการปิดไฟทั้งหลังแล้วนั่งดูมิเตอร์

  • งานพื้น
อุปกรณ์ที่ต้องมี ถุงเท้า เหรียญบาท ลูกแก้ว ประมาณ 20-30 ลูก หรือลองเดินลากเท้าดูว่ามีสะดุด ตรงไหนหรือเปล่า กระดาษกาว กล้องถ่ายรูป
  1. ให้เดินลากเท้าเปล่าดูว่ารอยกระเบื้อง แกรนิต หรือหินอ่อนหรือ แผ่นไม้หรือไม้ปาร์เก้ที่ปูนั้นเรียบเสมอดีหรือไม่ หลังจากนั้นให้ใส่ถุงเท้าแล้วเดินลากไปตามพื้นเช่นเดิมจะได้รู้ว่ามีรอยอีกหรือเปล่า และตามร่องที่ปูสะอาดหรือเปล่า
  2. ใช้เหรียญ 10 บาทเคาะพื้นว่ามีเสียงพื้นโปร่ง หรือเปล่า หากมีให้นำกระดาษกาวแปะทำเครื่องหมายเอาไว้ หรือใช้ชอล์กกากบาทไว้ แล้วถ่ายรูปเก็บเป็นหลักฐาน
  3. วางลูกแก้วไปบนพื้นหากเป็นไปได้ ควรวางห่างกันอย่างน้อย 10 เซนติเมตรแล้วดูว่าลูกแก้วไหลไปทางไหน หากไหลรวมกันแสดงว่า พื้นเป็นหลุม หากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นปูด ให้เอากระดาษกาวแปะเอาไว้เหมือนเดิม พร้อมดูยารอยแนวให้เรียบร้อย
  4. ดูความเรียบร้อยของพื้นโดยให้ความสนใจตรงรอยต่อระหว่างวัสดุกับตรงจุดที่มีการเปลี่ยนของระดับพื้นมากพิเศษ
  5. พื้นบริเวณด้านนอกตัวบ้าน ควรอยู่สูงกว่าระดับของถนนด้านหน้าบ้าน

ตรวจพื้น
ตรวจพื้น

  • งานกำแพง ผนัง
  1. เดินดูกำแพงว่าสะอาดดี หรือไม่ Wallpaper ที่ติดเอาไว้เรียบเสมอกันดีหรือเปล่า โดยให้เอาหน้าแนบดูกับกำแพงว่าเรียบเสมอกันดีหรือเปล่า มีกำแพงบุบหรือโป่งหรือไม่
  2. ตามขอบบัวติดผนังให้เอาไม้บรรทัดวางลงกับพื้นแล้วเลื่อนดู หากมีการโป่ง หรือเว้าตัวของบัวจะเห็นช่องว่างที่อยู่ระหว่างไม้บรรทัด กับขอบบัว
  3. สีนอกอาคารดูให้ทั่วว่ามีรอยร้าวหรือเปล่า มีรอยน้ำหรือเปล่า หากมีแสดงว่าน้ำรั่วให้หาสาเหตุโดยด่วน
  4. ตามประตู และหน้าต่างให้ลองเปิดปิดดูทุกบาน ดูว่ามีการทรุดตัวของประตู หรือหน้าต่างหรือไม่ ลองปิดแบบปล่อยให้ประตูปิดเองจะรู้ได้ทันที และให้ปิดประตูแล้วเอาไฟฉายส่องดูว่ามีแสงลอดหรือเปล่า พร้อมทั้งตรวจดูกุญแจทุกดอกดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า
  5. ประตูรั้วหน้าบ้าน ลงล็อคดีหรือเปล่า สามารถใช้งานได้หรือไม่ ลองเปิดและปิดดู
  6. ตรวจสอบรอยร้าวกำแพงรั้วบ้าน และดูความเรียบร้อย

  • ระบบฝ้าเพดาน
ตรวจสอบระบบฝ้าเพดานจะคล้ายกับการตรวจ พื้น และผนัง คือตรวจสอบดูความเรียบร้อยทั่ว ๆ ไป ระดับการติดตั้ง การเข้ามุม ความเรียบร้อยบริเวณรอยต่อต่าง ๆ และหากมีร่องรอยหยดน้ำอยู่ที่ฝ้าเพดาน ต้องรีบตรวจสอบหาสาเหตุของรอยดังกล่าวอย่างละเอียด เมื่อตรวจสอบสภาพภายนอกของฝ้าเพดานแล้ว ให้เอาบันไดมาปีนดูช่องเปิดของฝ้าเพื่อตรวจสอบ ปูนโป๊ว ระยะโครงต่าง ๆ ว่ามีความเรียบร้อยสม่ำเสมอกันหรือไม่

ตรวจฝ้า
ตรวจฝ้า

  • ระบบช่องเปิด-ปิด กลอน ประตู หน้าต่าง กุญแจ
หลักการใหญ่ ๆ ในการตรวจสอบประตูหน้าต่าง และช่องเปิดอื่น ๆ คือ การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มือจับ กุญแจ บานพับ กลอนประตู หน้าต่าง ติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง ได้แนวได้ระดับถูกต้อง สวยงาม ตรวจสอบดูกลอนประตูว่าหลวม หรือแน่นไปหรือไม่ ประตู หน้าต่างดังกล่าวเปิดปิดเป็นอย่างไร ปิดไม่สนิท หรือปิดลำบาก หรือไม่ การยาแนวระหว่างกระจกกับบานประตูเรียบร้อยทั่วถึงหรือไม่ ทดลองใส่กลอนทุกตัวว่าใส่ได้จริงๆ และเรียบร้อยหรือไม่ กุญแจ ต่าง ๆ เปิดปิดได้จริงๆ หรือไม่  และดู Door Stop มียางกันกระแทกหรือเปล่า

  • ระบบสุขาภิบาล
ในการตรวจสอบระบบสุขาภิบาลนั้น ควรทดลองใช้งานสุขภัณฑ์ทุกตัว เปิดก๊อกน้ำ จนสุดทุกก๊อก ดูว่าน้ำไหลดีไหม การหมุนของวาวเป็นอย่างไร ทดลองหมุนเข้า หมุนออก และตรวจเช็คข้อต่อว่ามีรอยรั่วซึมหรือไม่ โดยมีวิธีการเช็ครอยรั่วซึมในจุดที่มองไม่เห็นได้ด้วยการปิดการใช้น้ำทุกตัว ถ้าวาล์วน้ำยังหมุน หรือปั๊มน้ำยังมีการทำงานถี่ตลอดเวลา แสดงว่าบ้านท่านมีอาการรั่วซึม ต้องทำการตรวจเช็คโดยด่วน

ระบบสุขาภิบาล
ระบบสุขาภิบาล

จากนั้นก็ตรวจเช็คระบบช่องน้ำล้นในสุขภัณฑ์ ด้วยการขังน้ำไว้ ในสุขภัณฑ์ ในบริเวณที่ขังได้ เช่น อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ อ่างครัว ที่ซักผ้า ทดลองขังน้ำไว้ให้เต็ม ดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือไม่ เสร็จแล้วปล่อยน้ำออกในทันทีดูว่าน้ำไหลได้สะดวกหรือไม่ ถ้ามีอาการ ปุดๆ แสดงว่า ไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศตัน หรือท่ออากาศเล็กไป และถ้าอยู่ในห้องน้ำเดียวกัน ให้ทดลองเปิดน้ำออกพร้อมกัน เพื่อดูว่า การแย่งกันไหลออกของน้ำ มีผลอย่างไร จะให้ดีให้ลองกดชักโครกทดสอบการใช้งานไปพร้อมๆ กันด้วย ยิ่งดีครับ เพื่อให้ระบบน้ำแย่งกันใช้งาน ให้มากที่สุด และสังเกตด้วยว่าน้ำในชักโครกไหลคล่องหรือไม่

ตลอดจนทดสอบกดสายชำระทุกอัน ดูว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ จากนั้นให้เอาถังน้ำที่เตรียมไว้มา รองน้ำให้เต็ม แล้วค่อยๆ เทลงพื้นห้องน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงท่อระบายน้ำ ถ้าทำได้ให้เอาผ้าอุดที่รูระบายน้ำพื้น ให้น้ำขัง แล้วค่อยปล่อยน้ำให้ไหล ดูว่า การระบายน้ำที่พื้น เป็นอย่างไร สุดท้ายลองตรวจสอบดูตามจุดอับ จุดซ่อนเร้นต่าง ๆ เช่น บริเวณใต้เคาร์เตอร์ว่าช่างเก็บงานเรียบร้อยหรือไม่ ตรวจสอบปากท่อระบายน้ำทุกที่ ไม่ควรมีวัสดุหรือรอยปูนตกค้างอยู่



CR: infinitydesign.in.th


ก.การช่าง
บ้านไหน อยากปรับปรุง ซ่อมแซม เรียกใช้บริการได้เลยนะครับ

สนใจติดต่อสอบถาม
คุณรชต
ผู้จัดการฝ่ายขายและลูกค้าสัมพันธ์
โทร 081-882-6722
-----------------------------------------------
ก.การช่างทีม คู่คิดที่คอยให้คำปรึกษาในทุกคำถามเรื่องบ้าน
ก.การช่าง รับสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม และจัดดูแลสวน เชียงใหม่
ก.การบ้าน รับฝากซื้อ-ขาย ให้เช่า บ้าน คอนโด และที่ดิน
www.kor-karnchang.com
Phone: 095-5419777
Email:cs@kor-karnchang.com
FB: ก.การช่าง
IG: kor_karnchang
ก.การช่าง ‪#‎kor_karnchang‬ ‪#‎korkarnchang‬ ‪#‎ก่อสร้างเชียงใหม่‬ ‪#‎รับเหมาก่อสร้างเชียงใหม่‬ ‪#‎ผู้รับเหมาเชียงใหม่‬ ‪#‎สร้างบ้าน‬ ‪#‎ก่อสร้าง‬ ‪#‎ตกแต่งภายใน‬ ‪#‎จัดสวนเชียงใหม่‬ ‪#‎ต่อเติม‬ ‪#‎ทาสี‬ ‪#‎ปูพื้น‬ ‪#‎งานฝ้าเพดาน‬ ‪#‎งานผนังกั้นห้อง‬ ‪#‎รับออกแบบ‬‪#‎เขียนแบบ‬ ‪#‎งานไฟฟ้า‬ ‪#‎งานเหล็ก‬ ‪#‎วอลเปเปอร์‬ ‪#‎มุ้งลวด‬ ‪#‎เหล็กดัด‬ ‪#‎ผ้าม่าน‬ ‪#‎จัดสวน‬ ‪#‎ความปลอดภัย‬ @KorKarnchangChiangMai www.kor-karnchang.com